
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) - ปตท.สผ. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. เป็นประธานและร่วมลงนาม ทั้งนี้ ผู้ร่วมลงนามเป็นพยาน ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ และนายฉลองรัฐ ยะอนันต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานธรณีศาสตร์และการสำรวจ นายรังสรรค์ เพ็งพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานศึกษาและวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. ชนาธิป ผาริโน ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.บัญชา พูลโภคา รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พิชญดา เกตุเมฆ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านปิโตรเคมีและวัสดุ ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านปิโตรเคมีและวัสดุ รองศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร.ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณโสภณ พิฆเนศวร รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการฯ รวมถึง คุณอวิรุทธ์ สิริมังคลกิตติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานโครงการสำรวจ คุณกมลพร อินไร่ขิง ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายศึกษาทางเทคนิคด้าน Subsurface คุณปิติ อัครพิพัฒน์กุล ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมแหล่งปิโตรเลียม และคุณศุภวิชญ์ ทนุดำรง ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายสนับสนุนเทคนิคโครงการร่วมทุน ร่วมแสดงความยินดีในความร่วมมือด้านวิชาการของทั้ง 2 หน่วยงานในโอกาสนี้ด้วย
ในการนี้ จากความมุ่งมั่นในการสร้างปณิธานร่วมกันระหว่าง จุฬาฯ และ ปตท.สผ. เพื่อร่วมกันพัฒนาต่อยอดงานวิจัยและความร่วมมือทางวิชาการที่จะมุ่งนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยสู่การสร้างประโยชน์ให้กับสังคมตลอดระยะเวลากว่าศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้น การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการในครั้งนี้ จึงนับเป็นการยืนยันว่า จุฬาฯ และ ปตท.สผ. จะร่วมมือกันผลักดันประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่สังคมที่มีความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ภายใต้ความคาดหวังที่จะสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบและความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าผ่านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิผลสู่ผลิตภาพสูงสุด การผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมของประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามบริบทของประเทศ และจะขยายขอบเขตความยั่งยืนไปยังภูมิภาคอาเซียนตลอดจนทั่วโลกต่อไป
IMAGE GALERY
https://unisearch.chula.ac.th/index.php/th/news-activity-2/activities-news-2/3974-2023-10-26-10-41-11#sigFreeId0fb12e8a62