เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

รอบรั้วโครงการ

การแถลงข่าวเพาะปะการังโต๊ะแบบพุ่มจากสเปิร์มแช่เยือกแข็ง

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือ (นสร.กร.) จัดงานแถลงข่าวเรื่อง “ครั้งแรกของโลก...นักวิทย์ไทยเพาะปะการังโต๊ะแบบพุ่มด้วยสเปิร์มแช่เยือกแข็ง” ซึ่งคิดค้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรณพ วิยกาญจน์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และรองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการฯ และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ผุสตี ปริยานนท์ ที่ปรึกษา อพ.สธ. นาวาเอกทินกร กาญจนเตมีย์ รองผู้บัญชาการ นสร.กร. ศาสตราจารย์ ดร. พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีวงศ์ ศรีบุรี กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการฯ เข้าร่วมงานแถลงข่าว ณ ห้องประชุม 217 อาคารเคมี 2 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันพุธที่ 24 เมษายน 2562 การเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศโดยการเก็บสเปิร์มนำมาทำการแช่เยือกแข็ง เป็นการศึกษาวิจัยของกลุ่มการวิจัยชีววิทยาแนวปะการังที่ได้มีการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเทคนิคการเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศ ซึ่งเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังที่เสื่อมโทรมภายใต้สภาวะแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปีที่ผ่านมา กลุ่มการวิจัยฯ ประสบความสำเร็จในการนำสเปิร์มของปะการังโต๊ะแบบพุ่ม Acropora humilis มาผ่านกรรมวิธีการแช่เยือกแข็งในไนโตรเจนเหลว และนำกลับมาผสมใหม่กับไข่ปะการังได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก และได้มีการตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยระดับนานาชาติแล้ว ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวเป็นการทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยชาวไต้หวัน และได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนในการดำเนินการจาก นสร.กร. อพ.สธ. ตลอดจนหลายฝ่ายจากภาครัฐ ภาคเอกชน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยความสำเร็จในการนำสเปิร์มของปะการังมาผ่านกรรมวิธีการแช่เยือกแข็งนั้น ทำให้สามารถเก็บรักษาสเปิร์มได้นานขึ้นและนำไปผสมกับไข่ปะการังได้ใหม่ในช่วงเวลาและฤดูกาลที่ต้องการและเหมาะสมต่อไปได้ และปัจจุบัน กลุ่มการวิจัยฯ ได้ให้ความร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการนำวิธีการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศไปใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการังของประเทศไทยด้วย

IMAGE GALLERY


ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search