เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

รอบรั้วโครงการ

นิทรรศการวันนักประดิษฐ์ 2567 - โครงการสังคมไทยไร้ความรุนแรง ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย - รางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2567

โครงการสังคมไทยไร้ความรุนแรง ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุมนทิพย์ จิตสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการและคณะวิจัย ร่วมจัดนิทรรศการในวันนักประดิษฐ์ 2567 Thailand Inventors' Day 2024 เมื่อวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2567 ที่จัดขึ้นโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนำประเทศ” ณ Event Hall 100-102 : ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยแผนงานวิจัยท้าทายไทย : สังคมไทยไร้ความรุนแรง (ปีที่ 2) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2567 นี้ด้วย

รางวัลเหรียญทองแดง จากการนำเสนอนวัตกรรม “ผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถพยาบาลโดยการใช้กระบวนการ Advanced Oxidation Process ในการฆ่าเชื้อโรคทั้งในพื้นผิวและอากาศภายในรถพยาบาล” โดย Kuwait Science Club

รางวัลเหรียญทองแดง จากการนำเสนอนวัตกรรม “ผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถพยาบาลโดยการใช้กระบวนการ Advanced Oxidation Process ในการฆ่าเชื้อโรคทั้งในพื้นผิวและอากาศภายในรถพยาบาล” โดย Kuwait Science Club

ศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคชนิดติดตั้งในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบอัตโนมัติด้วยละอองลอยไฮดรอกซิลเรดิคอล และนางสาวพรรัตน์ ไชยมงคล นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการนำเสนอนวัตกรรม “ผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถพยาบาลโดยการใช้กระบวนการ Advanced Oxidation Process ในการฆ่าเชื้อโรคทั้งในพื้นผิวและอากาศภายในรถพยาบาล” จากงานแสดงประดิษฐกรรมและนวัตกรรมระดับนานาชาติ International Exhibition of Inventions in the Middle East ซึ่งจัดโดย Kuwait Science Club ในพระอุปถัมภ์ของเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตระหว่างวันที่ 4 - 7 กุมภาพันธ์ 2567 ณ รัฐคูเวต

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ความร่วมมือการผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการ “เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace)”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิจัย “เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace)” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการฯ รองศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยเท้าเทียมไดนามิกเอสเพสฯ รองศาสตราจารย์ ดร. ชัญญพันธ์ วิรุฬห์ศรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ร่วมวิจัย รวมถึง รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับทราบและเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ความร่วมมือการผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการ ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) โดย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมเป็นประธานในพิธีฯ ซึ่งลงนามโดย ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ พลเอก เดชนิธิศ เหลืองงามขำ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในระหว่างงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

บทบาทของ Chula 5G Sandbox บนเส้นทางสู่ 5G-Advanced ในประเทศไทย

Chula 5G Sandbox ได้ทำการวิจัยและทดลองทดสอบผ่านโครงการ Experimental Study and Implementation of 5G Technology on 6 GHz Band (ทดสอบ 5G บนคลื่น 6 GHz ใน Chula Sandbox) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วาทิต เบญจพลกุล เป็นหัวหน้าโครงการ ผ่านการทดสอบ 5G ในย่านความถี่ 6 GHz การทดสอบเทคโยโลยี 5G ผ่านการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีAI และ IoT “5G AI/IoT” ใน Chula Sandbox ด้วยความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช. - NBTC)

ขอเชิญผู้สนใจร่วมงาน Chula Future Food Platform Lunch Talk ครั้งที่ 3 “FUTURE FOOD MARKET OPPORTUNITIES”

ขอเชิญผู้สนใจร่วมงาน ♣️Chula Future Food Platform Lunch Talk ครั้งที่ 3 “FUTURE FOOD MARKET OPPORTUNITIES”♣️

ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567

เวลา 11.30 – 13.00 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนับสนุนโดย สำนักบริหารวิจัย ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (The Halal Science Center-HSC)



ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search