เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

รอบรั้วโครงการ

พิธีส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace) แก่ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร โรงพยาบาลศิริราช

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีส่งมอบ นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส “sPace” คุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นวัตกรรมทางการแพทย์ ฝีมือนักวิจัยไทย ให้แก่โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อช่วยเหลือคนพิการ

New Home, New Hope จากขาแท่นผลิตปิโตรเลียม สู่คลื่นความหวังที่ซัดฝั่งทะเลพะงัน

New Home, New Hope จากขาแท่นผลิตปิโตรเลียม สู่คลื่นความหวังที่ซัดฝั่งทะเลพะงัน อีกหนึ่งโครงการดี ๆ ที่ Chula Unisearch และสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีส่วนร่วมกับทางภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคสังคมในการร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงและอนาคตให้กับผู้คนวิถีชาวเลและท้องทะเลไทย

Net Zero 1st Lunch Talk เพื่อเศรษฐกิจและสังคมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืน

สำนักบริหารวิจัย ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) จัดงานเสวนา 1st Lunch Talk ภายใต้หัวข้อ “Fundamental and Outlook of Energy Management Systems toward Net Zero Emission”

เมื่อวันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2566 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมสร้างความร่วมมือและยกระดับเครือข่ายวิจัยในด้านการลดก๊าซเรือนกระจก สาขา Renewable Energy ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับและเปิดงาน และ ศาสตราจารย์ ดร. ชนาธิป ผาริโน ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าถึงภาพรวมโครงการ “Chula Net Zero Research & Innovation Platform” เพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์ในการเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตั้งเป้าการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) ภายใต้ 5 กลยุทธ์ต้นแบบเพื่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืน

สนพ. ขอเชิญชวน นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และคณาจารย์ สมัครเข้าร่วมโครงการการประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา ปีที่ 2

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ขอเชิญชวน นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และคณาจารย์ สมัครเข้าร่วมโครงการการประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา ปีที่ 2

“New Gen Energy Research Showcase”

ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท

พิธีปิดโครงการพระราม 4 โมเดล: การปลดล็อคข้อมูลการจราจรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า (Bangkok Rama 4 Model)

โครงการพระราม 4 โมเดล (Bangkok Rama 4 Model) จัดงานแถลงข่าวผลการศึกษาวิจัยและพิธีปิดโครงการพระราม 4 โมเดล: “Unlocking Traffic Data for a Better Tomorrow – การปลดล็อคข้อมูลการจราจรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า” เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 เพื่ออธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้และข้อเสนอแนะจากโครงการที่ดำเนินการมากว่า 3 ปี โดยการใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางเพื่อหาแนวทางลดปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ โครงการดังกล่าวเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยมุ่งเน้นที่ถนนพระรามสี่เป็นพื้นที่ทดลองทำการรวบรวมข้อมูล และหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในการลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจร


ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search